top of page
รอง ป (2).png
พ.ต.ท.ทิตวีร์ เอี่ยมสอาด.png
พ.ต.ท.เอกรัฐ สุจริต.jpg
พ.ต.ท.เอกรัฐ สุจริต
สวป.สภ.เมืองลพบุรี

บทบาทหน้าที่งานป้องกันปราบปราม

          การบริหารสายงานป้องกันปราบปราม เป็นงานที่ต้องใช้ความสัมพันธ์ระหว่างตำรวจกับประชาชน ในการให้ความรู้อบรมเกี่ยวกับเรื่องคดีอาชญากรรมต่ง ๆ แนะนำความรู้ตงๆ ให้กับประชาชนได้ทราบและมีการจัดแบ่ง

หน้าที่ของเจ้าหน้าแบ่งแยกออกเป็นสายงานต่าง ๆ ดังนี้

          1. หัวหน้างานป้องกันปราบปราม (รองผู้กำกับการ) หน้าที่รับผิดชอบ

              1.1 รับผิดชอบเป็นหัวหน้าการปฏิบัติงานป้องกันปราบปราม

                    - ปฏิบัติงานป้องกันปราบปรามด้วยตนเองตามความเหมาะสม

                    - วางแผนการปฏิบัติงานป้องกันปราบปราม พิจารณามอบหมายงาน

                    - วินิจฉัยคำสั่ง ควบคุมตรวจสอบการทำงานของเจ้าหน้าที่ และประเมินผล

                    -ให้คำแนะนำ ฝึกอบรมเจ้าหน้าที่งานป้องกันปราบปราม

                    - ติดต่อประสานงาน และร่วมประชุมกับหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

                    - แก้ไขปัญหาในการปฏิบัติงานป้องกันปราบปรามและตอบคำถามชี้แจงการทำงานของเจ้าหน้าที่

              1.2 จัดทำแผนที่ของพื้นที่รับผิดชอบว้ประจำสถานี ปรับปรุงแก้ไขข้อมูลให้ตรงกับ ความเป็นจริงระบุรายละเอียดที่จำเป็นซึ่งเป็นประโยชน์ของการดูแลพื้นที่ เช่น สถานที่สำคัญ สถิติการเกิดเหตุ ความถี่ และให้ซื้

แผนที่ให้เป็นประโยชน์ในการวางแผน และการจัดวางกำลังเจ้าหน้าที่

              1.3 การเก็บรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวกับงานป้องกันปรามปราบ ศึกษาวิเคราะห์ข้อมูล และเก็บข้อมูล

สถิติคดีอาญาทุกประเภทและนำเอาข้อมูลไปใช้ประโยชน์ในการวางแผนงาน

              1.4 วางแผนการป้องกันปราบปรามโดยประสานงานกับหน่วยงานที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องทั้งในสถานี

ตำรวจเดียวกันและนอกสถานีนั้น ๆ

              1.5 ดำเนินการป้องกันปราบปราม

                    - จัดผู้ทำหน้าที่รับผิดชอบงานป้องกันปราบปราม คือ นายร้อยตำรวจเวรประจำการบนสถานีและหัวหน้าสายตรวจรับผิดชอบงานในพื้นที่

                    - ผู้มีหน้าที่สายตรวจ เพื่อปฏิบัติงานตามแผนงานที่กำหนดไว้

              1.6 งานตำรวจชุมชนสัมพันธ์ สร้างความร่วมมือกับชุมชน จัดให้มีอาสาสมัคร

              1.7 การให้ความรู้และการศึกษาอบรมแก่ข้าราชการตำรวจ

              1.8 งานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานป้องกันปราบปราม เช่น คนหลง คนวิกลจริต สัตว์ พลัดหลง การดำเนินงานตามกฎหมายว่าด้วยเด็กและนักเรียน

              1.9 งานต่าง ๆ ดังนี้

                    - การให้บริการประชาชน

                    - การลงบันทึกประจำวันธุรการ

                    - การควบคุมศูนย์วิทยุของสถานี่ตำรวจ

                    - การควบคุมผู้ต้องหาและผู้ต้องกักขัง

                    - พิมพ์ลายนิ้วมือ

              1.10 ประสานการปฏิบัติกับงานอื่น ๆ ในสถานีตำรวจ และหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องอย่าใกล้ชิดจริงจังเพื่อผลในการป้องกันปราบปราม

              1.11 งานเอกสารและงานธุรการในการปฏิบัติงานป้องกันปราบปราม

              1.12 ในช่วงเวลาที่มีเหตุจำเป็นให้มีอำนาจมอบหมายให้ผู้ใต้บังคับบัญชาทำงานอื่นได้ตามความเหมาะสม

              1.13 งานอื่น ๆ ที่ผู้บังคับบัญชามอบหมาย

          2. รองหัวหน้างานป้องกันปราบปราม (สารวัตรป้องกันปราบปราม) หน้าที่รับผิดชอบ

              2.1 รับผิดชอบเป็นรองหัวหน้างานป้องกันปราบปราม และงานอื่น ๆ ที่หัวหน้างานป้องกันปราบปราม มอบหมาย

              2.2 ควบคุมตรวจสอบการทำงานให้คำปรึกษา แนะนำ ตลอดจนปรับปรุงแก้ไขการปฏิบัติงานของผู้ใต้บังคับบัญชาในงานป้องกันปราบปราม

              2.3 ในช่วงเวลาที่มีเหตุจำเป็นให้มีอำนาจมอบหมายให้ผู้ใต้บังคับบัญชาทำงานอื่นตามความ

เหมาะสมและต้องรายงานแจ้งให้หัวหน้างานป้องกันปราบปราบทันท

             2.4 งานที่มีกฎหมาย ระเบียบ คำสั่ง และข้อบังคับกำหนดหรือตามที่ผู้บังคับบัญชามอบหมาย

         3. ผู้ปฏิบัติงานป้องกันปราบปราม (รองสารวัตรป้องกันปราบปราม) หน้าที่รับผิดชอบ

              3.1 ปฏิบัติงาน ตามที่หัวหน้างานป้องกันปราบปรามหรือสารวัตรป้องกันปราบปรามมอบหมาย

              3.2 ให้ปฏิบัติหน้าที่นายร้อยตำรวจเวร

                    - รับแจ้งเหตุทั้งหมดแล้ว สอบถามข้อเท็จจริงเบื้องต้นและพิจารณาในการใช้กำลังตำรวจไปปฏิบัติงาน โดยอาจดำเนินการด้วยตนเองหรือสั่งการกับหัวหน้าสายตรวจเจ้าหน้ที่สายตรวจรองสารวัตรจราจร เจ้าหน้าที่จราจร หากจำเป็นต้องใช้ผู้ปฏิบัติให้ระดับสูงกว่าต้องรายงานให้ผู้บังคับบัญชาทราบ

                    - ควบคุมการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ในงานประชาสัมพันธ์ เสมียนประจำวันธุรการพิมพ์ลายนิ้วมือ ควบคุมผู้ต้องหา พนักงานวิทยุสิบเวร และยามสถานี

              3.3 ปฏิบัติหน้าที่หัวหน้าสายตรวจ

                    - ด้านการป้องกันให้ตรวจสอบ ควบคุมการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่สายตรวจรวมทั้งทำ

หน้าที่สายตรวจพร้อมกันตามความเหมาะสม

                    - ด้านปราบปรามเมื่อพบเหตุให้รายงานนายร้อยตำรวจเวรและพิจารณา

              3.4 งานที่มีกฎหมาย ระเบียบ คำสั่งและข้อบังคับกำหนด หรือตามที่ผู้บังคับบัญชามอบหมายหรือที่ได้รับมอบหมาย

              3.5 ในช่วงเวลาที่มีเหตุจำเป็นให้มีอำนาจมอบหมายให้ผู้ใต้บังคับบัญชาทำงานอื่นได้ตามความเหมาะสมและต้องรายงานแจ้งให้หัวหน้างานป้องกันปราบปรามหรือสารวัตรป้องกันปราบปรามทันที

          4. ผู้ปฏิบัติงานป้องกันปราบปราม (ผู้บังคับหมู่หรือลูกแถว) หน้าที่รับผิดชอบ

              4.1 เก็บรวบรวมสถิติข้อมูลเกี่ยวกับงานปกป้องกันปราบปราม

              4.2 การปฏิบัติหน้าที่เจ้าหน้าที่สายตรวจ

                    - ด้านป้องกัน มีหน้าที่ตรวจตราพื้นที่ สังเกตบุคคล สถานที่ เหตุการณ์เพื่อการป้องกันและทำการตรวจสอบตรวจคุ้น หากจำเป็นหรือรายงานไปยังหัวหน้า สายตรวจหรือนายร้อยตำรวจเวรให้บริการประชาชนตามที่เห็นสุมควร เช่น ท่อประปาแตก เสไฟฟ้าล้ม คนพลัดหลง เป็นต้น รวมทั้งการสร้างความสัมพันธ์อันดีกับประชาชน

                    - ด้านปราบปราม ทำการระงับปราบปรามเมื่อพบเหตุขอกำลังตำรวจจากหน่วยงานอื่น ๆ

เมื่อจำเป็นรักษาสถานที่เกิดเหตุเมื่อต้องการเก็บหลักฐานร่องรอย รับทราบแผนการปฏิบัติที่กำหนดและปฏิบัติตาม

แผนเมื่อเกิดเหตุ สังเกตบุคคล สถานที่เหตุการณ์ที่ได้รับสั่งการหรือเมื่อทราบข่าว รวมทั้งการสร้างความสัมพันธ์กับประชาชนและหาข่าวเพื่อประโยชน์ในการปรามปราบ

              4.3 ปฏิบัติหน้าที่สิบเวรเมื่อได้รับมอบหมายโดยเป็นผู้ควบคุมการปฏิบัติงานประชาสัมพันธ์ เสมียนประจำวันธุรการ พิมพ์ลายนิ้วมือ ควบคุมผู้ต้องหา พนักงานวิทยุ และยามสถานีหรือเป็นผู้ปฏิบัติงานในกรณีที่ม่มีผู้รับชอบงานเหล่านั้น

              4.4 ปฏิบัติหน้าที่เป็นยามสถานีเมื่อได้รับมอบหมาย

              4.5 ปฏิบัติหน้าที่เวรบริการเมื่อได้รับมอบหมาย โดยทำหน้าที่เวรบริการของผู้บังคับหมู่หรือลูกแถวในสายงานสอบสวนเจ้าหน้าที่สายตรวจหรือป้องกันปราบปราม

                    - ควบคุมดูแลผู้ต้องหา ผู้ถูกกักขัง และผู้ถูกจับขังในห้องควบคุม

                    - การดูแลการเยี่ยมผู้ต้องหา การตรวจคันสิ่งของ อาหารที่ผู้เยี่ยมนำมา

                    - การให้อาหารผู้ต้องหา ตรวจตราดูแลอาหาร

          5. เจ้าหน้าที่อื่น ๆ

              เจ้าหน้าที่สถานีวิทยุเจ้าหน้าที่พิมพ์ลายนิ้วมือและเจ้าหน้าที่เสมียนธุรการ

bottom of page