top of page
รอง ป (3).png
พ.ต.ท.ธนพล นาถนิติธาดา.png

บทบาทหน้าที่งานสอบสวน
          เป็นงานที่ต้องยึดความยุติธรรมในการทำงานเป็นหลักและให้ความเป็นธรรมแก่คู่กรณีทั้ง 2 ฝ่าย โดยมีการ
แบ่งแยกสายงานและหน้าที่การทำงานของเจ้าหน้าที่ดังนี้
          1. หัวหน้างานสอบสวน (รองผู้กำกับการสอบสวน) หน้าที่รับผิดชอบ
              1.1 รับผิดชอบเป็นหัวหน้าการปฏิบัติงานสอบสวน
                    - ปฏิบัติงานสอบสวนด้วยตนเองตามความเหมาะสม
                    - วางแผนการปฏิบัติงานสอบสวนพิจารณามอบหมายงาน
                    - วินิจฉัยคำสั่ง ควบคุมตรวจสอบการทำงานของเจ้าหน้าที่ และประเมินผล
                    - ให้คำแนะนำ ฝึกอบรมเจ้าหน้าที่งานสอบสวน
                    - ติดต่อประสานงาน และร่วมประชุมกับหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องแก้ไขปัญหาในการปฏิบัติงานสอบสวน และตอบคำถามชี้แจงการทำงาน
              1.2 การเก็บรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวกับงานสอบสวนและการดำเนินคดีนำมาจัดทำแฟ้มข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งวิเคราะห์ข้อมูลที่เก็บรวบรวมได้

              1.3 สอบสวนคดีอาญาทุกประเภท โดยดำเนินการสอบสวนคดีอุกฉกรรจ์หรือคดีสำคัญด้วยตัวเองตามระเบียบหรือคำสั่งที่กรมตำรวจได้กำหนดไวหรือเข้าร่วมทำการสอบสวนกับพนักงานสอบสวนในคดีที่พิจารณาเห็นสุมควร

              1.4 จัดให้มีพนักงานสอบสวน (สบ 1)-(สบ 3) ทำหน้าที่สอบสวน โดยระหว่างเข้าเวรเรียกว่าพนักงานสอบสวนเวร โดยรับผิดชอบงานด้านการร้องทุกข์หรือกล่าวโทษและดำเนินการสอบสวนเบื้องต้นหรือเปรียบเทียบปรับในจำนวนที่เหมาะสุม
              1.5 มอบหมายคดีให้พนักงานสอบสวนตามความเหมาะสม
              1.6 เปรียบเทียบการกระทำผิดกฎหมาย
              1.7 ร่วมกับกำลังป้องกันปราบปรามทำการตรวจค้นจับกุม
              18 ประสานการปฏิบัติกับงานอื่น ๆ ในสถานีตำรวจ และหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิดจริงจังเพื่อผลในการป้องกันปราบปราม
              1.9 การให้ความรู้และการศึกษาอบรมแก่ข้าราชการ
              1.10 งานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานสอบสวน

              1.11 ในช่วงเวลาที่มีเหตุจำเป็นให้มีอำนาจมอบหมายให้ผู้ใต้บังคับบัญชาทำงานอื่นได้ตามความเหมาะสม
              1.12 งานอื่น ๆ ที่ผู้บังคับบัญชามอบหมาย
          2. ผู้ปฏิบัติงานสอบสวน (สบ 3) หน้าที่รับผิดชอบ
              2.1 ปฏิบัติหน้าที่เป็นพนักงานสอบสวนเวร โดยสอบสวนคดีอาญาทุกประเภท และปฏิบัติงานตามที่หัวหน้าพนักงานสอบสวนมอบหมาย ดำเนินการสอบสวนคดีอุกฉกรรจ์หรือคดีสำคัญต่อไปนี้
                    - คดีการลักพาตัวเรียกค่าไถ่
                    - คดีข่มขืนกระทำชำเราและฆ่า
                    - คดีความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษ ประเภทที่ 1 และประเภทที่ 2 น้ำหนักตั้งแต่ 1,000 กรัม ขึ้นไป ยาเสพติดประเกทที่ 3 ประเภท 4 และประเภท 5 น้ำหนักตั้งแต่ 1,000 กิโลกรัม ขึ้นไป
                    - คดีเกี่ยวกับการก่อวินาศกรรม การจลาจลหรือการจารกรรม
                    - คดีเกี่ยวกับพระบรมวงศานุวงศ์ ตั้งแต่ชั้นพระองค์ขึ้นไปต้องคดีอาญา

                    - คดีที่บุคคลในคณะรัฐมนตรี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภาต้องหาคดีอาญา เว้นแต่คดีลหุโทษหรือคดีที่กระทำโดยประมาท
                    - คดีที่บุคคลในคณะฑูต กงสุล และบุคคลในองค์การสหประชาชาติหรือองค์การรัฐต่างประเทศเข้ามาช่วยเหลือราชการในประเทศไทย เป็นผู้เสียหาย หรือผู้ต้องหาคดีอาญา
                    - คดีผู้พิพากษา ข้าราชการพลเรือนระดับ 8 หรือเทียบเท่าขึ้นไป หรือข้าราชการทหาร ตำรวจ ตั้งแต่ชั้น พันเอก (พิเศษ) นาวาอากาศเอก (พิเศษ) นาวาเอก (พิเศษ) หรือพันตำรวจเอก (พิเศษ) ขึ้นไปถูกจับหรือต้อง หาคดีอาญาเว้นแต่คดีลหุโทษหรือคดีที่กระทำโดยประมาท
                    - คดีที่กล่าวหานายตำรวจชั้นสารวัตร มีส่วนเกี่ยวข้องหรือมีส่วนได้เสีย
                    - ความผิดเกี่ยวกับการใช้อาวุธสงคราม วัตถุระเบิด ประกอบอาชญากรรมโดยมีผู้ร่วมกระทำผิดตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป
                    - คดีก่อความไม่สงบอันเกิดจากคนต่างด้าวจำนวนมาก

                    - คดีที่ก่อให้เกิดความเสียหาย ต่อสาธารณูปโภคของประชาชน เช่น ทำลายทางรถไฟ โทรศัพท์ ไฟฟ้า ประปา ถ้าการกระทำผิดนั้นรุนแรงเป็นเหตุให้ประชาชนขาดความสะดวกหรือน่าจะเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่ประชาชน
                    - คดีวางระเบิดหรือทำให้ระเบิด เพื่อหวังเงินประกันหรือก่อให้เกิดความเสียหาย ตั้งแต่สิบล้านบาทขึ้นไป
                    - คดีที่บุคคลรวมกลุ่มในลักษณะเป็นแก๊งมิจฉาชีพ
                    - คดีที่ผู้บังคับบัญชาระดับผู้บังคับการ หรือหัวหน้าตำรวจภูธรจังหวัดเห็นสมควรให้ทำการสอบสวนด้วยตนเอง
              2.2 เข้าร่วมทำการสอบสวนกับพนักงานสอบสวน (สบ 2) หรือ (สบ 1) ในคดีที่พิจารณาเห็นสุมควร
              2.3 ปฏิบัติงานเป็นพนักงานสอบสวนเวร โดยมีการรับผิดชอบงานด้านการร้องทุกข์หรือกล่าวโทษรับแจ้งเหตุ และดำเนินการสอบสวนและทำสำนวน

              2.4 การเก็บรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวกับงานสอบสวน และการดำเนินคดี
              2.5 ร่วมกับกำลังป้องกันปราบปรามทำการตรวจคันจับกุม
              2.6 ประสานการปฏิบัติกับงานอื่น ๆ ในสถานีตำรวจ และหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิดจริงจังเพื่อผลในการป้องกันปราบปราม
              2.7 เปรียบเทียบการกระทำผิดกฎหมาย
              2.8 ดำเนินการเพื่อให้ประชาชนให้ความร่วมมือต่อการดำเนินคดี สร้างความสัมพันธ์อันดีกับประชาชน ให้ความสะดวกและคุ้มครองแก่พยาน
              2.9 ในช่วงเวลาที่มีเหตุจำเป็นให้มีอำนาจมอบหมายให้ผู้ใต้บังคับบัญชาทำงานอื่นได้ตามความเหมาะสม
              2.10 งานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานสอบสวน
              2.11 งานอื่น ๆ ที่ผู้บังคับบัญชามอบหมาย
          3. ผู้ปฏิบัติงานสอบสวน (สบ 2, สบ 1) หน้าที่รับผิดชอบ

              3.1 ปฏิบัติหน้าที่เป็นพนักงานสอบสวนเวร โดยสอบสวนคดีอาญาทุกประเภท และปฏิบัติงาน
ตามที่หัวหน้าพนักงานสอบสวนมอบหมาย ดำเนินการสอบสวนคดีอุกฉกรรจ์หรือคดีสำคัญต่อไปนี้
                    - คดีที่มีโทษจำคุกตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไปคดีชิงทรัพย์ที่มีตัว ผู้ต้องหาคดีวิ่งราวทรัพย์โดยใช้จักรยานยนต์และมีตัวผู้ต้องหา ดตีลักทรัพย์ที่มีตัวผู้ต้องหาและขยายผลได้ตั้งแต่ 2 คดีขึ้นไป คดียักยอกทรัพย์คดีขึ้นไป คดียัก ยอกทรัพย์ ฉ้อโกทรัพย์สินที่มีมูลค่า 1,00,000 บาทขึ้นไป คดีประทุษร้ายต่อร่างกายโดยใช้อาวุธปืนและอาวุธสง ครามและคดีความผิดจราจรที่มีผู้บาดจ็บครั้งละ 10 คนขึ้นไปหรือมีผู้ถึงแก่ความตาย
                     - คดีอุกฉกรรจ์ หรือคดีสำคัญนอกเหนือจากที่กำหนดให้เป็นคดีที่ผู้บังคับบัญชาระดับผู้บังคับการหรือรองผู้บังคับการ หรือผู้กำกับการหรือรองผู้กำกับการ ต้องรับผิดชอบสอบสวนด้วยตนเอง
                    - คดีอื่นๆ ที่ผู้บังคับบัญชา ระดับผู้บังคับการ หรือรองผู้บังคับการ หรือผู้กำกับการ สั่งการให้ทำการสอบสวนด้วยตัวเอง ซึ่งต้องเป็นคดีที่นอกเหนือจากที่กำหนดให้ป็นคดีที่ผู้บัคับบัญชา ระดับผู้บังคับการ หรือรองผู้บังคับการ หรือผู้กำกับการหรือรองผู้กำกับการ ต้องรับผิดชอบสอบสวนด้วยตนเอง

              3.2 ปฏิบัติหน้าที่เช่นเดียวกับ พนักงานสอบสวน สบ 3 ในฐานะพนักงานสอบสวนเวร ยกเว้นการสอบสวนคดีอุกฉกรรณ์หรือ คดีสำคัญที่ระบุไว้สำหรับ สบ 3 เว้นแต่ในสถานีไม่มี สอบสวน 3 ปฏิบัติหน้าที่อยู่ ก็ให้ สบ 2 ปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวแทนพนักงานสอบสวน (สบ 1)
              3.3 ปฏิบัติหน้าที่เช่นเดียวกับ พนักงานสอบสวน สบ 3 และ สบ 2 ในฐานะพนักงานสอบสวนเวรยกเว้นการสอบสวนคดีอุกฉกรรณ์หรือคดีสำคัญที่ระบุไว้สำหรับ สบ 3 และ สบ 2
          4. ผู้ปฏิบัติงานสอบสวน (ผู้บังคับหมู่หรือลูกแถว) หน้าที่รับผิดชอบ
              4.1 เจ้าหน้าที่เวรบริการหรือผู้ช่วยสอบสวน
              4.2 เป็นผู้ช่วยเหลือพนักงานสอบสวนในการดำเนินงานตามหน้าที่ตรวจสอบที่เกิดเหตุปฏิบัติงานตามที่พนักงานสอบสวนสั่งการ
              4.3 ธุรการคดี
                    - เก็บรักษาและจำหน่ายของกลางในคดี
                    - การส่งหมาย
                    - การติดต่อหน่วยงานที่เกี่ยวกับการตรวจพิสูจน์ เกี่ยวกับหลักฐาน

                   - การติดต่อกับศาลและอัยการเกี่ยวกับการดำเนินคดี
                   - งานธุรการของฝ่ายสอบสวน เช่น การเบิกจ่าย งานสารบรรณ
              4.4 เสมียนประจำวันคดี
                    - ลงบันทึกประจำวันเกี่ยวกับคดี การรับแจ้งความร้องทุกข์
                    - คัดสำเนาประจำวัน
              4.5 เสมียนเปรียบเทียบ
                    - เปรียบเทียบปรับเกี่ยวกับคดีอาญาทุกประเภท รวมทั้งคดีจราจร
              4.6 เจ้าหน้าที่ควบคุมผู้ต้องหาไปศาล
                    - ช่วยเหลือพนักงานสอบสวนในการดำเนินการตามหน้าที่โดยควบคุมผู้ต้องหาออกนอกห้องควบคุม เพื่อฟ้อง ผลัดฟ้อง ฝากขัง หรืออื่น ๆ

bottom of page